|
|
   |
|
|
 |
|
ปัจจุบันเส้นทางคมนาคมระหว่างตำบลไปอำเภอเป็นถนนลาดยาง อยู่ในความรับผิดชอบของ
กรมทางหลวง ทำให้การติดต่อระหว่างตำบลไปอำเภอเป็นไปอย่างสะดวกสบาย ส่วนการคมนาคมจากตำบลถึงหมู่บ้าน
เป็นถนนลาดยางของกรมทางหลวงชนบทและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
องค์การบริหารส่วนตำบล แต่การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านของบางหมู่บ้านเป็นถนนลูกรังและถนนหินคลุก สามารถใช้ติดต่อคมนาคมได้สะดวกเฉพาะในหน้าแล้ง ส่วนหน้าฝนยังมีความลำบากอยู่มาก
ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
สำนักงานทางหลวงชนบทชัยภูมิ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ และ
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน ได้พยายามจัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงถนนลูกรังและถนนหินคลุก
ให้เป็นถนนลาดยางหรือถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมระหว่างหมู่บ้านต่าง ๆ
ในตำบลบ้านหัน สามารถติดต่อกับอำเภอและตำบลใกล้เคียงได้โดยรถยนต์
กล่าวคือ มีรถยนต์โดยสารวิ่งระหว่างอำเภอหนองบัวแดงถึงอำเภอชุมแพ
จังหวัดขอนแก่น ซึ่งวิ่งผ่านตำบลบ้านหัน |
|
|
 |
|
แหล่งน้ำธรรมชาติ |
|
 |
แหล่งน้ำผิวดิน ตำบลบ้านหันมีลำห้วยหลายสายที่ไหลมาสมทบกับลำห้วยสายหลักของตำบล คือ ลำห้วยหามแห ที่เป็นลำน้ำย่อยของลำน้ำพรมอีกต่อหนึ่ง |
|
 |
แหล่งน้ำใต้ดิน ปริมาณน้ำใต้ดินของตำบลบ้านหัน เฉลี่ยประมาณ 20 – 85 แกนลอนต่อนาที และเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่มีคุณภาพดีไม่มีแร่ธาตุเจือปน จึงไม่มีรสเค็ม บางจุดยังสามารถยังใช้บริโภคได้ด้วย |
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น |
|
 |
โครงการชลประทานขนาดเล็ก ( อ่างเก็บน้ำหรือฝายน้ำล้น ) ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เหมือง ฝายน้ำล้น กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นลำห้วยต่าง ๆ ในตำบล ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรได้ในระยะหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอต่อการเกษตรตลอดปี |
|
 |
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กและแหล่งน้ำในไร่นา ได้แก่ โครงการของหน่วยงานราชการที่ได้จัดสร้างแหล่งน้ำสาธารณะขนาดเล็ก ประเภทบ่อน้ำตื้น บ่อน้ำบาดาล สระเก็บน้ำในหมู่บ้าน เพื่อการอุปโภคบริโภค รวมถึงโครงการแหล่งน้ำในไร่นา โครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรและโครงการสนับสนุนแผนการผลิตของเกษตรกร (ทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ) |
|
|
 |
|
ตำบลบ้านหันมีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 69,375 ไร่ และพื้นที่บางส่วนเป็นภูเขาและป่าไม้ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดขึ้นลำห้วยหามแห ที่มีลำห้วยสาขาเล็ก ๆ เกิดขึ้นมากมายไหลลงมาจากภูแลนคาและ ภูคีมาสมทบลำห้วยหามแห ณ จุดต่าง ๆ มากมาย ในอดีตป่าไม้บนภูแลนคาและภูคี ถูกบุกรุกถางป่าอย่างมากมาย ทำให้ป่าไม้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก แต่ปัจจุบันหลังจากที่ทางภาคราชการและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมรณรงค์และอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ ป่าก็จะเริ่มฟื้นฟูสภาพป่าอย่างน่าพอใจ |
|
|
|
|
   |
|
|